โค้ดข่าวครูไทย

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 


            หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบจลาจลในปลายสมัยธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว  จึงได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี  และขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แ่ห่งราชวงศ์จักรี  ทรงพระนาว่า  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

            สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งกรุงเทพฯ  ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  เมื่อ พ.ศ.  2325

สาเหตุที่ทรงย้ายราชธานี  มีดังนี้  คือ

            1.  พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ  มีวัดขนาบทั้ง  2  ข้าง  (คือวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม  และวัดอรุณราชวราราม)

            2.  ทรงไม่มีพระประสงค์จะให้ราชธานีแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้น

            3.  พื้นที่นทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม  สามารถขยายเมืองออกได้อย่างกว้างขวาง

            4.  ฝั่งธนบุรีพื้นที่เป็นท้องคุ้ง  น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายได้ง่าย

            ในการสร้างพระบรมมหาราชวัง  โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังด้วย  คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  หรือวัดพระแก้ว  แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

            กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  หมายถึง  ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัชกาลที่ 1  ถึง  รัชกาลที่  3  ซึ่งนับว่าเป็นระยะเชื่อมต่อระหว่างประวัติศาสตร์ไทยยุคเก่า มาสู่การปฏิรูป และพัฒนาประเทศ ตามแบบอารยธรรมตะวันตกในยุคปัจจุบัน

ความเจริญในด้านต่าง ๆ  ในสมัยรัชกาลที่  1  ถึงรัชกาลที่  3  มีดังนี้

            การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ถือตามแบบสมัยอยุธยา  โดยมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด

การปกครองส่วนกลาง มีลักษณะดังนี้  คือ

            มีอัครมหาเสนาบดี  2  ตำแหน่ง  คือ
                สมุหกลาโหม  เป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
                สมุหนายก  เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน และปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
                มีจตุสดมภ์ทั้ง  4  ฝ่าย  ภายใต้การดูแลของสมุหนายก  ได้แก่
                    เสนาบดีกรมเมือง
                    เสนาบดีกรมวัง
                    เสนาบดีกรมคลัง
                    เสนาบดีกรมนา

การปกครองส่วนภูมิภาค  แบ่งหัวเมืองออกเป็น  3  ประเภท  คือ

            หัวเมืองชั้นใน  หรือเมืองจัตวา
            หัวเมืองชั้นนอก
            หัวเมืองประเทศราช  ถ้าเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลราชะานี จะต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้เมืองหลวง  3  ปีต่อครั้ง  ส่วนเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี ให้ส่งมาปีละครั้ง

            กฎหมายไทยในสมัยนี้ ถือตามแบบอย่างอยุธยาและธนบุรี  แต่ได้มีการแก้ไขตรวจสอบขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่า  กฎหมายตราสามดวง คือตราราชสีห์ ตราคชสีห์ และตราบัวแก้ว ใช้สืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5

            การศึกษามีศูนย์กลางอยู่ที่วัด  วัง  และตำหนักเจ้านาย  รัชกาลที่  3 โปรดให้จารึก ตำราการแพทย์แผนโบราณ ไว้ที่วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งได้ชื่อว่า  เป็นวัดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

            การศาสนา  การทำนุบำรุงศาสนา จะมีการทำสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก  การออกกฎหมายสำหรับพระสงฆ์ และการสร้างวัดสำคัญ  เช่น วัดพระศรีรัตนศาดาราม  วัดสุทัศน์เทพวราราม  และวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม  เป็นต้น  
            ในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดให้ส่งทูตไปศึกษาความเป็นไปของพระ พุทธศาสนาในลังกา และได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกากลับมา 
            ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดเป็นจำนวนมาก  จนนับได้ว่า เป็นสมัยที่มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก

            ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ได้ขยายตัวมากขึ้น  เนื่องจากอยู่ในยุคแห่งการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม และลัทธิจักรวรรดินิยม  ชาติตะวันตกที่สำคัญ ที่เข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้แก่โปรตุเกส เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อ  
            ชาวโปรตุเกส ชื่อ อันโตนิโอ  เอด วิเสนท์ (องตนวีเสน) เป็นผู้อัญเชิญสาส์นเข้ามา ในรัชกาลที่ 1  
            ในสมัยรัชกาลที่ 2 ไทยได้ส่งเรือไปค้าขาย กับโปรตุเกส ที่มาเก๊า  และโปรตุเกสได้ขอเข้ามาตั้งสถานกงสุลในประเทศได้สำเร็จเป็นประเทศแรก อังกฤษ  พยายามทำไมตรีกับไทย เพื่อหวังประโยชน์ในดินแดนมลายู   

            ในสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษ ได้มาขอความช่วยเหลือให้ไทยไปช่วยรบกับพม่า  ไทยกับอังกฤษ ได้ทำสนธิสัญญา โดยสมบูรณ์เป็นฉบับแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369  โดยมีสาระสำคัญ คือ  ไทยกับอังกฤษ จะมีไมตรีจิตต่อกัน  อำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน และเรือสินค้า ที่เข้ามาค้าขาย ต้องเสียภาษีเบิกร่อง หรือภาษีปากเรือ แทนการเก็บภาษีตามแบบเดิม

กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 
จนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475


            หัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้ อยู่ที่การทำ สนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มาและสาระสำคัญของการทำสนธิสัญญาเบาริง มีดังนี้

            ในสมัยรัชการที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก  เพื่อความอยู่รอดของชาติ  เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ  อยู่ในขณะนั้น
            จุดเร่ิมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398  โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น  เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา

สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้

  1. อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
  2. คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
  3. คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
  4. เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
  5. พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี
  6. สินค้าต้องห้าม ได้แก่่ ข้าว  ปลา  เกลือ
  7. ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ  ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ  จะต้องทำให้อังกฤษด้วย
  8. สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้  จนกว่าจะใช้แล้ว  10  ปี  และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี

ผลของสนธิสัญญาเบาริง

ผลดี
  1. รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
  2. การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี
  3. อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย  สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้น

ผลเสีย
  1. ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
  2. อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
  3. อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข

            ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก  การเปลี่ยนแปลง   ในด้านต่าง ๆ   มีดังนี้

1.ด้านการปกครอง  
            ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์  คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก  ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน  

            ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ  โดยแบ่งเป็น  2  ระยะ  คือ  การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435)  ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ  การปกครองส่วนกลาง  โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ  12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง  การปกครองส่วนภูมิภาค  ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก  โท  ตรี  และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล  ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย  กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน  และการปกครองส่วนท้องถิ่น  เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก

2. การปฏิรูปกฎหมายและการศาล  

            ในรัชกาลที่ 4  ทรงตรากฎหมายขึ้นหลายฉบับ  เพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพบ้านเมือง  เช่น  กฎหมายเกี่ยวกับมรดก  สินสมรส  ฯลฯ  
            ในสมัยรัชกาลที่ 5  การปฏิรูปกฎหมายและการศาลครั้งสำคัญ  มีในสมัยรัชกาลที่  5  ดดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  (พระบิดาแห่งกฎหมาย)  เป็นกำลังสำคัญ  ผลการปฏิรูปกฎหมายและการศาล  มีดังนี้
  1. ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย
  2. ตรากฎหมายขึ้นตามแบบอารยประเทศ  ฉบับใหม่ และทันสมัยที่สุด คือ กฎหมาย ลักษณะอาญา
  3. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น
            ในสมัยรัชกาลที่  6  โปรดให้ปฏิรูปเพิ่มเติมดังนี้
  1. ตั้งกรมร่างกฎหมาย
  2. ร่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  3. ทรงดำเนินการเพื่อหาทางแก้ไขสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  เช่น  การส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่  1

3. ด้านเศรษฐกิจ  
            ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว  การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น มาก  ทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ  เช่น  
            ในรัชกาลที่ 4  ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง  ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย  
            ในสมัยรัชกาลที่  5  เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม  ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน  ให้ใช้เหรียญบาท  สลึง  และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม  มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก  คือ  แบางก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์)  
            ในสมัยรัชกาลที่  6  โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ ธนาคารออสนิ)

4.  ด้านการศึกษา  
            ผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาของไทย ตามแบบสมัยใหม่ คือ คณะมิชชันนารีอเมริกัน  ซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3  และต่อมา
            ในสมัยรัชกาลที่ 4  ก็ได้ตั้งโรงเรียนชายขึ้นที่ตำบลสำเหร่  ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย  ส่วนโรงเรียนสตรีแห่งแรกในไทย คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง  (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนวัฒนาวิทยา)  
            ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญขึ้น  เืพื่อสร้างคนที่มีความรู้ให้เข้ารับราชการ เพื่อพัฒนาประเทศ  ทั้งนี้ได้มีโรงเรียนประเภทต่าง ๆ  เกิดขึ้น คือ  โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก  โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และโรงเรียนวัดมหรรณพาราม (โรงเรียนสำหรับราษฎรแห่งแรก)  นอกจากนี้ ยังได้โปรดให้จัดทำแบบเรียนขึ้น ซึ่งเรียบเรียงโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)
            ในคราวที่ปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เพื่อรับผิดชอบในด้านการศึกษา  และยังได้พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงอีกด้วย  ส่วนการปรับปรุงการศึกษาที่สำคัญ                ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีดังนี้
            ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นใช้ในปี พ.ศ. 2464 ให้เรียกเก็บเงิน “ศึกษาพลี” จากราษฎร เพื่อบำรุงการศึกษาในท้องถิ่น ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นแห่งแรก คือ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

5.  ด้านศาสนา  
            ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ ลักษณะการปกครองสงฆ์เป็นฉบับแรก  โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาสูงสุด  มีมหาเถรสมาคมให้คำปรึกษา  โปรดให้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง  เช่น  วัดโสมนัสวิหาร  วัดราชประดิษฐ์  วัดปทุมวนาราม 
            ในสมัยรัชกาลที่  5  ทรงมีพระกรณียกิจที่สำคัญ คือ โปรดให้จัดตั้งสถานศึกษาสำหรับพระสงฆ์ขึ้น 2 แห่ง (ซึ่งต่อมา เป็นมหาวิทยาลัยของสงฆ์ หรือมาหวิทยาลัยพระพุทธศาสนา มีการศึกษาถึงระดับปริญญาเอก) คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยา อยู่ที่วัดมหาธาตุฯ เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงการณราชวยิทยาลัย  ศึกษาได้ทุกนิกาย  ทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส ทั่วโลก
            มหามกุฏราชวิทยาลัย  อยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย (ปัจจับันคือ มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย  การให้บริการด้านการศึกษา  เช่นเดียวมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

6.  ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี  
            ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า  ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ  โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น  
            ในสมัยรัชกาลที่  5  โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป  ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบตะวันตก  โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง  โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก  ให้ไว้ผมตัดยาว  ที่เรียกว่า “ทรงดอกกระุุทุ่ม”  ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์  โดยยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ  ให้แต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขึ้น  ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า และให้ยืนเข้าเฝ้าแทน  ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต  ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล  และที่สำคัญที่สุด  ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่่า “พระปิยมหาราช”  ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน  คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส  
            ในสมัยรัชกาลที่ 6  ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล  โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ  แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)  เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม  โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง  เปลียนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์  ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป

7.  ด้านศิลปกรรม  
            ในสมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการก่อสร้างแบบ ตะวันตก  เช่น  พระราชวังสราญรมย์  พระนครคีรีที่เพชรบุรี  ด้านจิตรกรรม  ได้แก่  ภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถ และวิหารวัดบวรนิเวศวิหาร  จิตรกรเอกในสมัยนี้  ได้แก่  ขรัวอินโข่ง  ซึ่งเริ่มเขียนภาพแบบสามมิติ ตามแบบตะวันตก เป็นบุคคลแรก  
            ในสมัยรัชกาลที่ 5  สถาปัตยกรรม ได้รับอิทธิพล แบบตะวันตกมากขึ้น  ประติมากรรม  ได้แก่  พระพุทธชินจำลอง  วัดเบญจมบพิตร  พระบรมรูปหล่อพระมหากษัตริย์ 4 รัชกาล  พระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระราชพิธีสิบสองเดือน  พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน เงาะป่า 
            ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการก่อสร้างตามแบบไทย ได้แก่ หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย  อนุสาวรีย์ทหารอาสา  การก่อสร้างแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสนามจันทร์ พระราชวังพญาไท  ด้านจิตรกรรม  ได้แก่ ภาพเขียนที่ฝาผนังวิหารทิศ ที่นครปฐม  การก่อสร้างพระพุทธรูป  เช่น  พระแก้วมรกตน้อย  แม่พระธรณีบีบมวยผม ฯลฯ  ด้านดนตรี และการแสดงละคร มีความรุ่งเรืองมาก มีการแสดงละครเพิ่มขึ้น หลายประเภท  เช่น ละครร้อย ละครพูด  ด้านวรรณคดี  ได้มีพระราชนิพนหลายเรื่อง เช่น  เวนิสวานิช  พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร  ฯลฯ  
            ในรัชสมัยนี้ ได้มีการก่อตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น